top of page
ค้นหา
  • warinthon33

อุจจาระร่วงเฉียบพลัน

อัปเดตเมื่อ 1 ก.ย. 2562

การถ่ายอุจจาระที่มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นหรือเนื้ออุจจาระลดลง หรือถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งต่อวันหรือมากกว่า ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำจำนวนเกิน 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง หรืออุจจาระเหลวมีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้งในจำนวน 12 ครั้ง หรือถ่ายเหลวมีมูกเลือดปนเพียงครั้งเดียว สำหรับทารกที่กินนมแม่อาจถ่ายอุจจาระเหลวบ่อยครั้ง



>> อาการ

มีไข้ ปวดท้อง และอุจจาระร่วง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระอาจพบเยื่อมูกและมีเลือดปน อาการหนาวสั่น เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เลือดจาง ตับและม้ามโต อาจมีอาการทางสมอง เด็กอาจมีอาการชักและซึม หากเกิดจากอหิวาตกโรคจะถ่ายเป็นน้ำซาวข้าว หากเป็นรุนแรงอาจมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย

>>การรักษา

ไม่ต้องงดอาหารหรือนม ให้รับประทานได้ตามปกติ โดยงดอาหารแข็ง รสจัด อาหารที่มีกากพวกผัก

ผลไม้ ให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ เหลวย่อยง่าย ประเภทข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าว โดยใส่เกลือและน้ำตาล ดื่มน้ำหวาน ซึ่งควรให้อาหารหลังจากให้น้ำเกลือแร่ (ORS) ไปแล้ว 4 ชั่วโมง ทารกให้กินนมแม่ตามปกติ หากกินนมผสมต้องชงให้เจือจางลงเท่าตัว ใน 2-4 ชั่วโมงแรก หรือผสมนมตามปกติ ให้ดื่มครึ่งเดียวก่อนสลับกับน้ำเกลือแร่ (Oral rehydration solution: ORS) หรือดื่ม ORS บ่อย ๆ ให้น้ำอัดลมหรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือ หากมีอาเจียนอาจให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ ผู้ใหญ่ให้ 5%D/NSS หรือ NSS 1,000-2,000 มิลลิลิตร ใน 12-24 ชั่วโมง เด็กให้ 5% D/1/3 NSS 100 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ใน 24 ชั่วโมง อาจให้โปแตสเซียมหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อแก้ไขภาวะกรดด่างและรักษาตามสาเหตุ หากอาการไม่มากไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ หากมีอาการมาก เช่น มีไข้สูง ปวดท้องมาก ควรให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Norfloxacin 400 มิลลิกรัม เช้า-เย็น นาน 2-7 วัน หากสงสัยว่าเกิดจาก Amebiasis ควรใช้ Metronidazole 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 5 วัน หากสงสัยอุจจาระร่วงจากอหิวาตกโรคควรใช้ Tetracycline 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน หรือให้ยาฆ่าเชื้อเฉพาะ เช่น เชื้อ Vibrio cholerae, Shigella, Salmonella เป็นต้น ให้ยาลดการบีบตัวของลำไส้พวก Loperamide อาจให้ยาระงับการอาเจียน ให้อาหารอ่อนย่อยง่ายให้ Oral rehydration therapy เพื่อป้องกันและรักษาการสูญเสียน้ำ อาจให้ทางหลอดเลือดดำ เช่น Lactated Ringer's solution, NSS, 0.45% NaHCO3 เป็นต้น อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรืองด ได้แก่ แอลกอฮอล์กาแฟ น้ำตาลแล็กโทส

และสารกลุ่ม Methyl xanthine เพราะอาหารเหล่านี้จะกระตุ้นการหลั่งของน้ำและอิเล็กโทรไลต์สู่โพรงลำไส้และทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น หากติดเชื้อรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ



ดู 38 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page