เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือไข่ตัวอ่อนหนอนพยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร หรือสารพิษที่พบได้ตามพืชและสัตว์ เช่น เห็ดพิษ สบู่ดำ มะกล่ำตาหนู สาหร่ายบางสายพันธ์ คางคก ปลาปักเป้า แมงดาทะเล และปลาทะเลบางชนิด
![](https://static.wixstatic.com/media/546190_cb25bb7c8c4d4e24bf10ac7987d07bba~mv2.jpg/v1/fill/w_730,h_730,al_c,q_85,enc_auto/546190_cb25bb7c8c4d4e24bf10ac7987d07bba~mv2.jpg)
>>อาการ
อาการจะเกิดหลังเรารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปแล้ว 1 ชั่วโมงถึง 8 วันส่วนใหญ่
พบในหมู่คนที่รับประทานอาหารร่วมกัน แต่จะมีอาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่ปริมาณเชื้อ หรือพิษที่ได้รับเข้าไป อาการที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำจากการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้อาจมีปวดศรีษะปวดเมื้อยตามเนื้อตามตัวร่วมด้วย หากมีอาการถ่ายบ่อยทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ได้ หรือมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อและเกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย รวมทั้งมีการติดเชื้อในกระแสโลหิต สำหรับกรณีโรคอาหารเป็นพิษจากสารเคมี พืชพิษ หรือสัตว์พิษบางชนิดจะมีผลต่อระบบประสาท เช่นอาการชา ชัก ตาตัวเหลือง หมดสติ และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตโดยเฉพาะเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ
>>การป้องกัน
ใช้มาตรการป้องกันโดยใช้กฏหลัก 10 ประการในการเตรียมอาหารที่ปลอดภัยได้แก่
1.อาหารที่สะอาด ผ่านการเตรียมเป็นอย่างดี
2.ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน
3.ควรกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
4.ระมัดระวังอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่าให้มีการปนเปื้อน หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็น ส่วนอาหารสำหรับทารกไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ
5.อาหารที่ค้างมื้อต้องอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน
6.แยกอาหารดิบและอาหารสุกให้ระมัดระวังการปนเปื้อน
7.ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหารโดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำ
8.ให้พิถีพิถันเรื่องความสะอาดของห้องครัว
9.เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ
10.ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหารและควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารก
Comments